ความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้ กรณีไม่นำส่งภาษี หัก ณ ที่จ่าย |
1. ความรับผิดทางแพ่ง1.1 ความรับผิดในจำนวนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย (มาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร)
หมายเหตุ กรณีผู้มีเงินได้ ได้นำเงินได้ที่ตนมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้และยื่นแบบแสดงรายการไว้แล้ว ย่อมมีผลทำให้ทั้งผู้มีเงินได้และผู้จ่ายเงินได้พ้นจากความรับผิด ในจำนวนภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย โดยต้องพิสูจน์ต่อเจ้าพนักงานประเมินเป็นที่แน่ชัดว่า ได้นำเงินได้นั้นไปรวมเป็นเงินได้และยื่นแบบแสดงรายการไว้จริง แต่ผู้จ่ายเงินได้ยังคงต้องรับผิดในเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร 1.2 ความรับผิดในเงินเพิ่มภาษี (มาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร) ผู้จ่ายเงินได้ต้องรับผิดในจำนวนเงินเพิ่มภาษี สำหรับจำนวนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ยังส่งไม่ครบถ้วน และพ้นกำหนดเวลานำส่งตามที่กฏหมายกำหนดแล้ว โดยต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือน ของจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่นำส่งไว้ไม่ครบถ้วนนั้น ทั้งนี้ ผู้จ่ายเงินได้ต้องรับผิดในจำนวนเงินเพิ่มดังกล่าวแต่เพียงฝ่ายเดียว (สำหรับผู้มีเงินได้แม้จะถูกกำหนดให้ร่วมรับผิดกับผู้จ่ายเงินได้เฉพาะจำนวนภาษีเงินได้หัก ที่จ่าย ที่ยังหักและนำส่งไว้ไม่ครบถ้วนเท่านั้น ผู้มีเงินได้ไม่ต้องรับผิดในจำนวนเงินเพิ่มภาษีเพราะเหตุที่ผู้จ่ายเงินได้มิได้นำส่งแต่อย่างใด) และในการคำนวณภาษีเงินได้ ผู้จ่ายเงินได้จะนำเงินเพิ่มภาษีไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณเงินได้สุทธิ หรือ กำไรและขาดทุนสุทธิไม่ได้ ตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร 2. ความรับผิดทางอาญา กรณีผู้จ่ายเงินได้ ไม่ปฎิบัติหน้าที่ต่างๆ เกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะแสดงได้ว่ามีเหตุสุดวิสัย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม. 35)
ไม่ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิ ซึ่งกรมสรรพากรกำหนดอัตราที่ควรเปรียบเทียบปรับกระทงละ 500 บาท บทความน่ารู้อื่นๆ |