รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี ปิดงบการเงิน ปิดงบย้อนหลัง ปิดงบด่วน ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ประสบการณ์กว่า 20 ปี
Home ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
รับทำบัญชี สำนักงานบัญชี บัญชี จดทะเบียนบริษัท ตรวจสอบบัญชี ปทุมธานี ยื่นภาษี ทำประกันสังคม วีซ่า
ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม PDF พิมพ์ อีเมล

มาตรา 78 ภายใต้บังคับตามมาตรา 78/3 ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการขายสินค้าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  • การขายสินค้านอกจากที่อยู่ในบังคับตาม (2)(3)(4) หรือ (5) ให้ความรับผิดทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่กรณีที่ได้มีการกระทำ ดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนส่งมอบสินค้า ก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการ กระทำนั้น ๆ ด้วย
  1. โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
  2. ได้รับชำระราคาสินค้า หรือ
  3. ได้ออกใบกำกับภาษี

ทั้งนี้โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้น ๆ แล้วแต่กรณี

  • การขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อหรือสัญญาขาย ผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้ส่งมอบ ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อ ถึงกำหนดชำระราคาตามงวดที่ถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด เว้นแต่กรณีที่ ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด ก็ให้ถือ ว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ ด้วย
  1. ได้รับชำระราคาสินค้า หรือ
  2. ได้ออกใบกำกับภาษี

ทั้งนี้โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้น ๆ แล้วแต่กรณี

  • การขายสินค้าโดยมีการตั้งตัวแทนเพื่อขาย และได้ส่งมอบสินค้าให้ ตัวแทนแล้ว ทั้งนี้ เฉพาะสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายประเภทของสินค้า และ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้ความรับผิดทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อตัวแทนได้ส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อ เว้นแต่กรณี ที่ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนการส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อ ก็ให้ถือว่า ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ ด้วย
  1. ตัวแทนได้โอนกรรมสิทธิ์สินค้าให้ผู้ซื้อ
  2. ตัวแทนได้รับชำระราคาสินค้า
  3. ตัวแทนได้ออกใบกำกับภาษี หรือ
  4. ได้มีการนำสินค้าไปใช้ไม่ว่าโดยตัวแทนหรือบุคคลอื่น

ทั้งนี้โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้น ๆ แล้วแต่กรณี

  • การขายสินค้าโดยส่งออก ให้ความรับผิดเกิดขึ้นดังต่อไปนี้
  1. การส่งออกนอกจากที่ระบุใน (ข) หรือ (ค) ให้ความรับผิด เกิดขึ้นเมื่อชำระอากรขาออก วางหลักประกันอากรขาออก หรือจัดให้มีผู้ค้ำ ประกันอากรขาออก เว้นแต่ในกรณีที่ไม่ต้องเสียอากรขาออก หรือได้รับยกเว้น อากรขาออก แล้วแต่กรณี ก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นในวันที่มีการออกใบขน สินค้าขาออกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
  2. การส่งออกในกรณีที่นำสินค้าเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตาม มาตรา 77/1 (14) (ก) ให้ความรับผิดเกิดขึ้นในวันที่นำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออก
  3. การส่งออกซึ่งสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วย ศุลกากร ให้ความรับผิดเกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
  4. การขายสินค้าที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตาม มาตรา 80/1 (5) และภายหลังได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าอันทำให้ผู้รับโอนสินค้ามี หน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม มาตรา 82/1 (2) ให้ความรับผิดทั้งหมดเกิดขึ้น เมื่อโอนกรรมสิทธิ์สินค้า

เพื่อเป็นการบรรเทาภาระในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระ ภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนสำหรับการขายสินค้าแก่กระทรวง ทบวง กรม หรือราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ เฉพาะการขายสินค้าตามสัญญาและมีการ ชำระราคาที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ให้อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดความรับผิด ทั้ง 3 ข้อแรก เกิดขึ้นเป็นอย่างอื่นได้

 

บทความน่ารู้อื่นๆ

 
Joomla SEO powered by JoomSEF