เงื่อนไขในการจ่ายเงินปันผล 1. เงินปันผลต้องจ่ายจากเงินกำไรแท้ๆ เท่านั้น ( เป็นกำไรทางบัญชีนะค่ะ) ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผลจากเงินประเภทอื่นนอกจากเงินกำไร ถ้าหากบริษัทขาดทุน ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผลจนกว่าจะได้แก้ไขให้หายขาดทุน เงินกำไรนั้น หมายถึงเงินที่ได้จากการค้าขายของบริษัทหักต้นทุนและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ไว้แล้ว เงินกำไรจะได้มาจากปีก่อนๆ หรือในปีที่มีการประกาศจ่ายเงินปันผลก็เรียกว่าเงินกำไร มาดูตัวอย่างกันนะค่ะ ตย. บริษัท X ทำการค้ามา 3 ปีแรก ขาดทุนไป 60,000 บาท สิ้นปีที่ 4 บริษัทได้กำไร 10,000 บาท บริษัทจะเอากำไรจำนวน 10,000 มาแบ่งเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นไม่ได้ ต้องนำไปชดใช้การขาดทุนใน 3 ปีแรกก่อนก็ยังขาดทุนอยู่อีก 60,000 - 10,000 = 50,000 บาทดังนั้นในปีที่ 4 บริษัทจีงแบ่งเงินปันผลไม่ได้ พอสิ้นปีที่ 5 บริษัทมีกำไร 65,000 บาท ก็ต้องนำเอากำไรไปชดใช้การขาดทุนในปีก่อนๆ ที่ยังขาดทุนอยู่ ยังเหลือกำไร 65,000 - 50,000 = 15,000 บาท ก็สามารถนำเอากำไร 15,000 บาทมาจ่ายเป็นเงินปันผลได้ เพราะการขาดทุนได้หมดสิ้นไปแล้ว 2. เงินปันผลตามปกติจะจ่ายให้ผู้ถือหุ้นได้ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่เท่านั้น คือ แม้บริษัทจะมีกำไรในปีนั้นมากมายเท่าใดก็ตาม ถ้าที่ประชุมใหญ่ไม่มีมติจะจ่ายเงินปันผลแล้ว ผู้ถือหุ้นจะไปบังคับบริษัทให้จ่ายเงินปันผลให้ตนไม่ได้ ( บางกรณี การจ่ายเงินปันผลอาจจะไม่ได้มติจากที่ประชุมใหญ่ก็ได้ แต่เป็นเพียงมติของกรรมการบริษัทที่เรียกว่า " เงินปันผลระหว่างกาล " ) 3. ทุกคราวที่แจกเงินปันผล ไม่ว่าจะเป็นการแจกเงินปันผลตามปกติ หรือเงินปันผลระหว่างกาล บริษัทต้องจัดสรรเงินไว้เป็นทุนสำรองอย่างน้อยหนึ่งในยี่สินส่วนของจำนวนผลกำไรซึ่งบริษัททำมาหาได้จากกิจการของบริษัท จนกว่าทุนสำรองนั้นจะมีจำนวนถึงหนึ่งในสิบของจำนวนทุนบริษัทหรือมากกว่านั้น แล้วแต่จะได้ตกลงกำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท มาค่ะมาดูตัวอย่างกัน ตย. บริษัทแห่งหนึ่งมีทุน 1,000,000 บาท ถ้าปีที่ 1 บริษัทมีกำไร 50,000 บาท บริษัทต้องชักกำไรไว้ร้อยละ 5 คือเป็นจำนวน 2,500 บาท เป็นทุนสำรองถึงปีที่ 2 - 10 แต่ละปีถ้าบริษัทมีกำไร บริษัทต้องหักกำไรไว้เป็นทุนสำรองทุกครั้ง สมมติว่าสิ้นปีที่ 10 ทุนสำรองของบริษัทมีถึง 100,000 บาท ก็เท่ากับ 1 ใน 10 ของทุนบริษัทแล้วถึงปีที่ 11 ถ้าบริษัทมีกำไรอีกบริษัทก็จะเอากำไรมาแจกเป็นเงินปันผลได้เลย ไม่ต้องหักเป็นทุนสำรองอีกแล้ว มาดูอีกตย.หนึ่ง ตย. ในปี 2548 บริษัทมีกำไร 14 ล้านบาท มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ผลประกอบการในอดีตที่ผ่านมามีผลประกอบการเป็นขาดทุนสุทธิ จำนวน 13 ล้านบาท และบริษัทฯ ยังไม่เคยมีการตั้งเงินสำรองตามกฏหมายเลย ก. บริษัทฯ ไม่อาจจะจ่ายเงินปันผลได้ หากยังเป็นขาดทุนอยู่ แต่ตาม ตย. บริษัท ขาดทุน 13 ล้าน และในปี 48 มีกำไร 14 ล้าน ดังนั้น บริษัทสามารถนำเงินเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้นที่จ่ายเงินปันผลได้ค่ะ แต่ ข. จะต้องมีการกันเงินสำรองตามกฏหมายให้ได้หนึ่งในสิบของทุนก่อนถึงจะจ่ายเงินปันผลได้ ดังนั้นในปี 48 บริษัทจึงต้องกันเงินสำรองให้ได้หนึ่งในสิบ = ทุน 1 ล้าน * 10 / 100 เท่ากับจำนวน 100,000 บาทของกำไรที่เหลือคือ 1 ล้านมาเป็นเงินสำรอง จะไม่ได้คำนวณจากผลกำไรทั้งจำนวน 14 ล้านบาทนะครับ เนื่องจากต้องหักผลขาดทุนจำนวน 13 ล้านออกไปก่อนจึงเหลือกำไรเพียง 1 ล้านบาทแล้วจึงค่อยนำกำไรสุทธิที่เหลือมาตั้งเป็นเงินสำรองตามกฏหมายค่ะ - จะเห็นได้ว่าการกันสำรองนั้น กฏหมายเพียงกำหนดไว้ว่าถ้าจะกันต้องกันไม่น้อยกว่า หนึ่งในยี่สิบส่วนของผลกำไร แต่มากกว่าได้ - และไม่ได้กำหนดว่าจะต้องตั้งกี่ปี แต่ต้องตั้งให้ครบหนึ่งในสิบของจำนวนทุนบริษัทหรือมากกว่านั้น แล้วแต่จะได้ตกลงกำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท ดังนั้นจึงตั้งเงินสำรองปีเดียวให้ครบเลยก็ได้ค่ะ ค. ดังนั้นในปี 48 เมื่อผลประกอบการหลังหักขาดทุนเป็นกำไรแล้ว และได้มีการกันเงินสำรองครบตามกฏหมายกำหนดกล่าวคือ 1/10 ของทุนแล้ว จึงจะประกาศจ่ายเงินปันผลในปี 49 ได้ 4. การบอกกล่าวการแจกเงินปันผล ต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้คือ 4.1 โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ฉบับหนึ่ง 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย หรือ 4.2 มีจดหมายบอกกล่าวไปยังผู้ถือหุ้นทุก ๆ คนซึ่งมีชื่อในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท
คำถามเกี่ยวกับเรื่องเงินปันผล 1. ถามว่า เงินกำไรที่นำมาจ่ายเป็นเงินปันผลนั้น จะต้องคำนวณมาจากกำไรก่อนหรือหลังภาษีค่ะ ตอบ การจ่ายเงินปันผลจะต้องจ่ายจากกำไรหลังหักภาษีค่ะ 2. ถามว่า ชำระค่าหุ้นไม่ครบ จ่ายเงินปันผลได้หรือไม่ เช่น บริษัทมีทุนจดทะเบียน 500,000 บาท เรียกชำระ 250,000 บาท มีกำไรสะสม ประมาณ 2 ล้านบาท จะจ่ายเงินปันได้หรือไม่ ตอบ เรื่องนี้มีหลักเกณฑ์กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1200 ที่ว่า " การแจกเงินปันผลนั้น ต้องคิดตามส่วนจำนวนซึ่งผู้ถือหุ้นได้ส่งเงินแล้วในหุ้นหนึ่ง เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในเรื่องหุ้นบุริมสิทธิ " คือ การจ่ายเงินปันผลนั้น กฎหมายไม่คำนึงถึงมูลค่าหุ้น แต่คำนึงถึงจำนวนเงินที่ส่งแล้วในหุ้นหนึ่ง มาดูตัวอย่างกันค่ะ : บริษัทแห่งหนึ่งกำหนดมูลค่าหุ้นไว้หุ้นละ 100 บาท บริษัทเรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นไปแล้ว 100% เต็มดังนี้ ผู้ถือหุ้นที่ชำระค่าหุ้นไปแล้ว 100% จะได้รับเงินปันผลมากกว่าผู้ที่ชำระไปแล้ว 75% ส่วนผู้ที่ชำระไปแล้ว 75% ก็จะได้รับเงินปันผลมากกว่าผู้ที่ชำระไปแล้ว 50% กรณีข้างต้นเป็นเรื่องเฉพาะหุ้นสามัญเท่านั้น ไม่ใช้บังคับกับหุ้นบุริมสิทธิ คือบริษัทอาจจะมีข้อบังคับกำหนดว่า ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเงินปันผลก่อนผู้ถือหุ้นสามัญเสมอ ไม่ว่าจะค้างชำระค่าหุ้นหรือไม่ก็เป็นไปตามข้อบังคับนั้น แม้บริษัทจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นทุกคนชำระค่าหุ้นไปแล้ว 100% ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิที่ชำระค่าหุ้นไปแล้วเพียง 50% ก็อาจได้รับเงินปันผลก่อนผู้ถือหุ้นสามัญที่ชำระค่าหุ้นไป 100% เต็มก็ได้ 3. ถามว่า ถ้า หจก. จะจ่ายเงินปันผลตอนสิ้นปี จะต้องทำอย่างไรบ้างและวิธีการบันทึกบัญชีบันทึกอย่างไร ตอบ ก. สำหรับห้างหุ้นส่วนจำกัด จะไม่เรียกว่าจ่ายเงินปันผล แต่จะใช้คำว่า " การแบ่งกำไร " ซึ่งเรื่องนี้ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ได้มีบัญญัติไว้ ก็ต้องอนุโลมหลักเกณฑ์การแบ่งกำไรในห้างหุ้นส่วนสามัญตามมาตรา 1044 และ 1045 มาใช้ โดยอาศัยมาตรา 1080 วรรค 1 ที่ว่า
" บทบัญญัติว่าด้วยห้างหุ้นส่วนสามัญขัอใดๆ หากมิได้ยกเว้นหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปโดยบทบัญญัติแห่งหมวด 3 นี้ ท่านให้นำมาใช้บังคับแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วย " คือหมายความว่า หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดและหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด จะได้รับแบ่งกำไรเท่าไร ก็เป็นไปตามอัตราส่วนคือ ลงทุนมากก็จะได้กำไรมาก ลงทุนน้อยก็จะได้กำไรน้อยตามส่วน แต่ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้หุ้นส่วนแต่ละคนได้ส่วนกำไรเท่ากันหมดทุกคน หรือให้คนลงทุนน้อยได้กำไรมากกว่าคนลงทุนมาก ก็ต้องเป็นไปตามข้อตกลงนั้น ข. เมื่อมีการตกลงจะแบ่งเป็นที่แน่นอน ก็จะบันทึกบัญชีในวันที่ที่มีการตกลงให้จ่าย โดย Dr. ส่วนแบ่งกำไรให้ผู้เป็นหุ้นส่วน ( แสดงหักในส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน ) Cr. เงินสด / ธนาคาร / ส่วนแบ่งกำไรค้างจ่าย ( หนี้สิน )
4. ถามว่า เมื่อมีการจ่ายเงินปันผลแล้ว ทั้งทางด้านผู้จ่ายและผู้รับต้องดำเนินการอย่างไรในเรื่องภาษีอากร ตอบ - ทางด้านผู้จ่าย จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ร้อยละ 10 สำหรับผู้ผู้รับซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักในอันตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ตามมาตรา 50 http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html#mata50
และต้องไปนำส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่จ่ายเงิน ไม่ว่าตนจะได้หักภาษีไว้แล้วหรือไม่ตามมาตรา 52
- ทางด้านผู้รับ เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไรถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 ( 4 ) ( ข ) กฎหมายให้สิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยวิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย แทนการนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นตามหลักทั่วไป ซึ่งจะทำให้ผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษี ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย สามารถประหยัดภาษีได้ ซึ่งจะต้องมีสิ่งที่ควรทราบอีกดังนี้
1. ในกรณีที่บุตรชอบด้วยกฎหมายที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นผู้มีเงินได้ตาม (ข) นี้ และความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดา แต่ถ้าความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดาหรือมารดา ผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือของบิดาในกรณีบิดามารดา ใช้อำนาจปกครองร่วมกัน (เท่ากับบุตรไม่มีเงินได้) หลักนี้ ให้อนุโลมใช้กับบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย
2. เงินได้ตาม (ข) ซึ่งได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจะได้รับเครดิตภาษี = อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล x เงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับ 100- อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
ทั้งนี้เฉพาะผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย หรือเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น อนึ่งเครดิตภาษีนี้จะนำมาใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปีภาษีเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย และในการคำนวณภาษีเงินได้ ต้องนำเครดิตภาษีเงินปันผลดังกล่าวมารวมคำนวณภาษีโดยถือ เป็นเงินได้ พึงประเมินด้วย
|