การบริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมือง? พิมพ์

  

           ตั้งแต่ปีภาษี 2551 เป็นต้นไป บุคคลธรรมดา ที่มีสัญชาติไทย (ไม่รวมถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือ คณะบุคคล ที่มิใช่ นิติบุคคล และกองมรดก ที่ยังไม่ได้แบ่ง) สามารถบริจาค เงินภาษี ให้แก่พรรคการเมืองได้ ตามมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัต ิประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 โดยแสดง เจตนาบริจาค เงินภาษี ให้แก่พรรคการเมือง พร้อมการยื่นแบบ แสดงรายการภาษี ประจำปี โดยมีหลักเกณฑ์ และวิธีการ ตามประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ ( ฉบับที่ 176 ) ดังนี้ 
 
1. ผู้มีเงินได้ เมื่อคำนวณภาษี ตามแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 แล้ว มีเงินภาษี ที่ต้องชำระ ตั้งแต่ 100 บาท ขึ้นไป 

 
   
2. ผู้มีเงินได้ ที่มีสิทธิบริจาค ต้องแสดง เจตนาไว้ใน ช่องที่กำหนดไว้ ในแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 โดยต้อง ระบุให้ชัดเจนว่า ประสงค์จะบริจาค หรือ ไม่บริจาค และระบุ รหัสพรรคการเมือง ที่ต้องการบริจาค หากไม่ระบ ุความประสงค์ หรือไม่ระบุ รหัสพรรคการเมือง ถือว่าไม่ได้แสดง เจตนาบริจาค ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
   
    ( 1 )  ระบุรหัสพรรคการเมือง ที่ต้องการบริจาค ได้เพียง 1 พรรคการเมือง หากแสดงเจตนา เกินกว่า 1 พรรคการเมือง ถือว่า ไม่ประสงค์ จะบริจาคให้พรรคการเมืองใด
     
  ( 2 )  เมื่อแสดงเจตนาบริจาค ให้แก่พรรคการเมืองใดแล้ว ห้ามปลี่ยนแปลง 
     
  ( 3 )  พรรคการเมือง ที่ผู้บริจาค จะแสดงเจตนา บริจาคเงินภาษี ให้ได้ในปีภาษีใด จะต้องเป็น พรรคการเมือง ที่มีชื่ออยู่ใน ทะเบียนพรรคการเมือง ในปีภาษีนั้น หากพรรคการเมือง ที่แสดงความประสงค์ บริจาคเงินภาษี ให้สิ้นสภาพ เลิก หรือยุบ ตามกฎหมาย ในปีภาษีใด ให้ถือเสมือนว่า ไม่มีพรรคการเมืองนั้น ที่จะได้รับการแสดงเจตนา บริจาคเงินภาษีในปีภาษีนั้น 
      
           สามารถค้นหา รหัสพรรคการเมือง ได้จากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง www.ect.go.th หรือจากเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th 
 
   
3. การแสดงเจตนา บริจาคเงินภาษีให้แก่ พรรคการเมืองตาม 2. ห้าม มิให้นำไป หักเป็นค่าลดหย่อน ตามมาตรา 47 แห่งประมวลรัษฎากร
   
4. ผู้มีเงินได้ ซึ่งมีสิทธิระบุการแสดงเจตนา บริจาคเงินภาษี ให้แก่พรรคการเมือง ในแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ให้ถือตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
   
    ( 1 )  กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ฝ่ายที่มีเงินได้เป็นผู้ระบุความประสงค์ในแบบฯ
     
  ( 2 )  กรณีสามี หรือภริยา ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ และแยกยื่นแบบฯ หรือรวมยื่นแบบฯ แต่แยกคำนวณภาษี ให้สามี และภริยา ต่างฝ่ายต่าง มีสิทธิระบุความประสงค์ในแบบฯ 
     
  ( 3 )  กรณีสามี หรือภริยา ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ และรวมยื่นแบบฯ รวมทั้ง รวมคำนวณภาษี
ให้ต่างฝ่าย ต่างมีสิทธิ ระบุความประสงค์ ของตนเอง ในแบบฯ โดยกรอก รายละเอียด การคำนวณ แยกรายการบุคคลใน "ใบแนบ ภ.ง.ด.90/91 ปีภาษี 2551 รายละเอียด คำนวณ ภ.ง.ด.90/91 แยกรายบุคคล กรณีคู่สมรส รวมคำนวณภาษี และบริจาคภาษี แก่พรรคการเมือง" (แล้วแต่กรณี) ซึ่งสามารถ Download ได้จาก เว็บไซต์กรมสรรพากร HOT MENU > Download > บริการอิเล็กทรอนิกส์ > แบบแสดงรายการภาษี แบบคำร้อง/คำขอต่างๆ > ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา " 
 
      
           อนึ่ง

หากผู้มีเงินได้ คำนวณภาษี ตามแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 แล้ว มีเงินภาษี ที่ต้องชำระ ตั้งแต่ 100 บาท ขึ้นไป และมีภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไว้เกินกว่า เงินภาษีที่ต้องชำระ เมื่อแจ้งความประสงค์ ขอคืนเงินภาษี ที่ชำระไว้เกิน พร้อมทั้ง แสดงเจตนา บริจาคเงินภาษี ให้แก่พรรคการเมืองด้วย กรมสรรพากร จะหักเงินบริจาคดังกล่าว จากเงินภาษี ที่ต้องชำระ ดังนั้น การบริจาค เงินภาษีดังกล่าว ไม่มีผลต่อเงินภาษี ที่ขอคืนไว้แต่อย่างใด

 
 

                                                                                                                                                                                                     ที่มา : กรมสรรพากร

       

 

 

 

 
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 2011 เวลา 20:09 น.
 
Joomla SEO powered by JoomSEF