ยินดีต้อนรับทุกท่านค่ะ เรารับทำบัญชี จดทะเบียนธุรกิจ ยื่นภาษีอากร ตรวจสอบบัญชี ขึ้นทะเบียนประกันสังคม ทำวีซ่า ใบอนุญาตทำงาน และยินดีให้คำปรึกษาฟรี สนใจติดต่อเราได้ตลอดเวลาค่ะ โทรศัพท์: 02-090-2284-6 แฟกซ์: 02-090-2287, มือถือ: 086-089-6768 Line ID : sunisar2524 & Line ID : @banbunchee
Home ห้องสนทนา กระทู้ล่าสุด
 กระดานสนทนา
ยินดีต้อนรับ บุคคลทั่วไป   [ลงทะเบียน]  เข้าสู่ระบบ
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 11 12 13 14 15 16 17 ถัดไป > สุดท้าย >>
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ปรึกษาเรื่องการเสียภาษีอพาร์ทเมนต์.. 03-05-2011 00:07:08 
สุณิษาเรืองหิรัญ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19-11-2010 08:53:13
ตอบ: 22
ที่อยู่
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ปรึกษาเรื่องการเสียภาษีอพาร์ทเมนต์

ผู้ที่วางแผนจะทำอพาร์ตเม้นท์ห้องเช่าต้องดำเนินการในด้านภาษีดังนี้

1. ทำสัญญาแยกค่าเช่าออกจากค่าบริการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนในฐานที่ต่ำลง เช่น ห้องเช่าราคา 3,500 บาท ให้คุณแยกเป็นค่าเช่าห้อง 2,000 บาท ถ้ามีเฟอร์นิเจอร์ก็แยกเป็นค่าเช่าเฟอร์นิเจอร์ อีก 1,500 บาท แต่ถ้าไม่มีเฟอร์นิเจอร์ก็ทำเป็นสัญญาให้บริการในเรื่องรักษาความสะอาด การให้ ไฟฟ้า แสงสว่าง การจัดยามรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ โดยต้องแยกทำเป็นสัญญาสองใบ คือ ( 1)สัญญาเช่าห้องและ ( 2) สัญญาบริการหรือให้เช่าเฟอร์นิเจอร์

การแยกสัญญาเช่นนี้ช่วยให้ท่านเสียภาษีโรงเรือนลดลงโดยต้องเสียเฉพาะจากค่าเช่าพื้นที่ และถ้า ท่านมีหนังสือสัญญาที่ผู้เช่าเซ็นไว้ชัดเจน การที่องค์ การปกครองส่วนท้องถิ่นหรือเทศบาลจะ โต้แย้งเก็บภาษีโรงเรือนจากฐาน 3,500 บาทต่อห้อง ย่อมไม่ได้ แต่ต้องเรียกเก็บจากฐานค่าเช่า ห้องเดือนละ 2,500 บาท

2. ในการคิดค่าภาษีโรงเรือนนั้นท่านอาจสามารถต่อรองชี้แจงกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นว่าไม่ใช่ห้องทุก ห้องมีคนเช่าปีละ 12 เดือน หรือ 365 วันเต็ม ดูจากมาตรฐานโรงแรมต่าง ๆ ซึ่งเปิดห้องให้เช่า คล้ายกับอพาร์ตเม้นท์ เทศบาลหลายแห่งยินยอมให้ใช้อัตราคนเข้าพักที่ 60% ดังนั้น การที่ลด จำนวนวัน ที่มีคนพักลงเหลือเพียง 60% จะช่วยให้ฐานภาษีต่ำลง อันจะเป็นการดึงให้จำนวนภาษี โรงเรือนลดลงด้วย

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม การให้เช่าห้องพักไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่สำหรับท่านที่มีค่าเช่าเฟอร์นิเจอร์ค่าบริการ หากทำรายได้เกินกว่าปีละ 1,800,000 บาท ท่านก็ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และจ่ายภาษีในอัตรา 7%

4. ภาษีเงินได้ หากคุณให้เช่าอพาร์ตเม้นท์ในชื่อส่วนตัว และไม่อยากทำบัญชี คุณหักค่าใช้จ่ายเป็น การเหมาได้ 30% ของรายได้ค่าเช่า อาทิเช่นปีหนึ่ง มีรายได้รวม 1,000,000 บาท สรรพากรก็ให้ คุณหักออก 30% เป็นค่าใช้จ่าย แล้วถือว่าอีก 70% เป็นฐานในการเสียภาษี ซึ่งคุณหักค่าลดหย่อนส่วนตัว และครอบครัวแล้วมาคิดภาษีในอัตราบุคคลธรรมตามตารางที่ผมได้แสดงไว้ในหนังสือเล่มนี้ แต่ถ้าคุณมีค่าใช้จ่ายเกินกว่า 30% เช่น มีต้นทุน 46% เพราะคุณต้องกู้ยืมเงินมาก่อสร้างหรือ ซื้ออพาร์ตเม้นท์ จึงมีค่าดอกเบี้ย มีค่าเสื่อมค่าสึกหรอของอาคาร เฟอร์นิเจอร์ ค่าใช้จ่าย ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้าง พนักงานในการดูแลต่าง ๆ รวมแล้วเกินกว่า 30% ของรายได้ คุณก็สามารถทำบัญชีแสดง ตัวเลขการคำนวณ เก็บใบเสร็จรับเงินให้ชัดเจนแล้วนำมา หักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงได้ 46%ตามที่มีเกิดขึ้น แล้วนำเอาส่วน 54% ที่เหลือเป็นฐานเสียภาษี การทำเช่นนี้ท่านต้องใช้ ความละเอียดและขยัน ในการ เก็บภาษีและรายการต่าง ๆ ให้ครบถ้วน เพราะหากผิดพลาดไป สรรพากรจะปรับและคิดดอกเบี้ยจากคุณอีกด้วย

5. หากคุณเสียภาษีในชื่อส่วนตัว รายได้จากอพาร์ตเม้นท์ห้องเช่าคุณก็เสียภาษีในชื่อส่วนตัว แต่ถ้า คุณมีรายได้จากแหล่งอื่นด้วย เช่น ค้าขาย รับจ้าง เมื่อรวมกับรายได้จากอพาร์ตเม้นท์ก็ทำให้คุณ ต้องเสียภาษีในอัตราสูง คุณก็ต้องจัดตั้งเป็นบริษัทเพื่อทำกิจการอพาร์ตเม้นท์แล้วเก็บค่าเช่า ซึ่งปกติ บริษัทจะเสียภาษี 30% ของกำไรหลังจากหักค่าใช้จ่ายได้นานับประการ บริษัทขนาดเล็ก คือ ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5,000,000 บาท ก็จะเสียภาษี ประมาณ 15-30% ตามที่ได้กล่าวไว้

7 เมื่อเสียภาษีแล้วก็เป็นกำไรสะสมในทางบัญชี เมื่อคุณประกาศจ่ายเงินปันผล บริษัทจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ซึ่งเป็นการเสียภาษีสองขั้นตอน ภาระอาจจะสูงกว่าการทำอพาร์ตเม้นท์ในชื่อ ส่วนตัวของท่านเอง คุณต้องเปรียบเทียบจุดคุ้มทุน

6. จัดทำอพาร์ตเม้นท์ในชื่อคณะบุคคล

ในกรณีที่คุณมีรายได้หลาย ๆ ประเภทในปีเดียวกัน เช่น กำไรจากการค้าขาย การรับจ้าง หากมาทำ ธุรกิจอพาร์ตเม้นท์ในชื่อของคุณอีก รายได้ค่าเช่า จากอพาร์ตเม้นท์จะมาต่อยอดรายได้อื่น ๆ ของ คุณ ก็เลยผลักดันให้คุณต้องเสียภาษีในอัตราสูงขึ้น เช่น แทนที่จะเริ่มต้นเสียภาษีจาก 0% ของรายได้ หนึ่งแสนบาทแรก หากคุณมีเงินเดือน ค่าจ้าง และรายได้จากการค้าขายอยู่ 800,000 บาท ซึ่งอยู่ในอัตราภาษี 20% เมื่อนำรายได้ค่าเช่าจากการให้เช่า อพาร์ตเม้นท์อีก 1,000,000 บาท มา รวมก็เป็น 1,800,000 บาท ค่าเช่าอพาร์ตเม้นท์ส่วนที่เกิน 1,000,000 บาท จึงต้องเสียภาษี 30% ดังนั้น คุณมีทาง เลือกที่จะทำอพาร์ตเม้นท์ในชื่อของคณะบุคคลเพื่อกระจายรายได้ โดยต้อง มีการวางแผนเตรียมตัวล่วงหน้า เนื่องจากกฎหมายภาษีกำหนดว่าผู้ใดเป็น เจ้าของโฉนด ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้มีรายได้จากค่าเช่า หากที่ดินอยู่ในชื่อของตัวคุณเอง การทำอพาร์ตเม้นท์ในชื่อคณะบุคคล คุณ ต้องหาคนอื่นเข้ามาร่วม เป็นเจ้าของที่ดิน หรือมิฉะนั้นเมื่อคุณเป็นเจ้าของที่ดิน เพื่อนอีกคนหนึ่ง ต้องเป็นผู้ก่อสร้างตึก แล้วรวมที่ดินกับตึกเป็นเจ้าของสองคน คือ คณะบุคคล หรือคุณกับเพื่อน จะต้องร่วมกันสร้างตึกบนที่ดินของคุณ คือ ต้องพยายามทำให้อพาร์ตเม้นท์มีชื่อบุคคลสองคนเป็น เจ้าของ ไม่ว่าจะเป็นที่ดินหรือตึก หรือทั้งตึกและที่ดิน

อย่างไรก็ตาม ไม่อยากแนะนำให้เอาชื่อคนอื่นมาอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ เพราะต่อไปภายภาคหน้าหากคุณอยากจะขายหรือเปลี่ยนวิธีการต้องขอความ ยินยอมจากเพื่อนคนนั้น คิดว่าวิธีง่ายกว่านี้ คือ เมื่อคุณเป็นเจ้าของทั้งที่ดินและตัวตึกอพาร์ตเม้นท์ คุณสามารถทำสัญญากับเพื่อนคน หนึ่งว่า ในการ ให้เช่าอพาร์ตเม้นท์นี้คุณเป็นคนออกทรัพย์สิน คือ อาคารและที่ดิน ส่วนเพื่อน ร่วมกันทำในฐานะผู้ให้บริการ ในลักษณะคล้ายเป็นหุ้นส่วน ไม่ใช่เป็น ลูกจ้าง กล่าวคือ เพื่อนเป็น ผู้ทำการตลาด จัดหาผู้เช่า ดูแลตึก รักษาความปลอดภัย เรียกเก็บค่าเช่า จ่ายค่าจ้างคนงาน เป็นต้น เมื่อเป็นดังนี้แล้วก็สามารถ เก็บค่าเช่าในชื่อคณะบุคคลได้โดยเสียภาษีจากอัตราต่ำสุด และไม่ต้อง เอาค่าเช่าไปรวมกับรายได้อื่นของคุณ แต่เพื่อความรอบคอบคุณควรทำสัญญา ระบุความเป็น เจ้าของของคุณให้แจ้งชัด และเพื่อนมาเป็นเพียงผู้ให้บริการ เพื่อจะได้ไม่เกิดเรื่องโต้แย้งใน ภายหลังในเรื่องกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สิน สัญญานี้เป็นสัญญาจัดตั้งคณะบุคคลและแบ่งแยกหน้าที่ การงานกันแล้วนำไปขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของคณะบุคคลเพื่อจะได้เริ่มเสียภาษีให้ ถูกต้อง ในเรื่องการแบ่งกำไรคุณก็ต้องระบุให้ชัดเจน เช่น คุณได้แบ่ง 80% เพราะเป็นผู้ลงทุนใน ทรัพย์สินต่าง ๆ เพื่อนเพียงแต่เป็นคนออกแรงจึงได้ แบ่งแค่ 20% ซึ่งเห็นว่าการแบ่งอัตราส่วน แบบนี้ยุติธรรมดี

7. จดทะเบียนสิทธิเก็บกิน

การจัดตั้งคณะบุคคลทำอพาร์ตเม้นท์มีความยุ่งยากในการแบ่งแยกกรรมสิทธิทรัพย์สินและรายได้ ดังกล่าวข้างต้น วิธีง่ายกว่านี้ก็คือ หากคุณมีลูกหลาน อยากให้ลูกเป็นผู้มีรายได้จากการให้เช่า อพาร์ตเม้นท์เนื่องจากเด็กตัวเล็ก ๆ ไม่รายได้อื่น เขาจึงเสียภาษีจากอัตราขั้นต่ำสุด คือ 0% คุณก็ สามารถจดทะเบียน สิทธิเก็บกินให้แก่ลูกเพื่อลูกเป็นผู้รับรายได้ ซึ่งมีวิธีการดังนี้

7.1 ลูกมีอายุเท่าใดก็ได้ตั้งแต่ 1 วัน จนถึง 80 ปี ขอให้มีตัวตนเป็นบุคคลเท่านั้น กรณีที่ลูกอายุยัง ไม่ถึง 20 ปี ถือเป็นผู้เยาว์ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ คุณในฐานะพ่อหรือแม่ย่อมมีสิทธิทำการแทนลูกอยู่ แล้ว คุณจึงสามารถจดทะเบียนสิทธิเก็บกินให้ลูกโดยคุณเป็นผู้ทำการแทน

7.2 สิทธิเก็บกินต้องไปจดที่กรมที่ดินหรือสำนักงานที่ดินท้องที่ซึ่งที่ดินและอาคารตั้งอยู่ โดยต้องนำโฉนดไปให้พนักงานเจ้าหน้าที่สลักหลังให้เรียบ ร้อยด้วย

7.3 คุณจะกำหนดระยะเวลาสั้นยาวเท่าใดก็ได้ เลือกได้ 3 วิธี คือ
( ก) ตลอดอายุของตัวคุณเอง หรือ
( ข) ตลอดอายุของลูก หรือ
( ค) กำหนดระยะเวลาแน่นอน แต่ไม่เกิน 30 ปี

7.4 แนะนำว่า ควรจดประมาณ 10 ปี ทั้งนี้ เพราะการวางแผนภาษีย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามภาวะเศรษฐกิจและรายได้ของคุณในแต่ ละปี ถ้าคุณจดยาวจนเกินไปทำให้ขาดความ คล่องตัว เช่น ถ้าคุณให้สิทธิแก่ลูกตลอดชีวิต แล้ววันหลังคุณจะเปลี่ยนใจจดให้แก่ลูกคนที่สองหรือจะ ยกเลิกสิทธิเก็บกิน ถ้าหากลูกซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินเกิดไม่ยินยอมคุณก็ยกเลิก เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ถ้ามีกำหนดระยะเวลา สักวันหนึ่งระยะเวลาก็ จะสิ้นสุดลง คุณสามารถ เปลี่ยนแปลงได้ตามใจชอบ

7.5 มีเจ้าพนักงานที่ดินบางคนไม่ค่อยอยากให้คุณจดสิทธิเก็บกิน เกรงว่าคุณจะวางแผนเพื่อเสีย ภาษีน้อย ทำให้รัฐขาดประโยชน์แต่ดิฉันเห็นว่าเป็นการ ใช้สิทธิตามกฎหมายโดยสุจริต เจ้าพนักงาน จ ะไม่ยอมไม่ได้ หากว่ารัฐไม่อยากให้ราษฎรจดทะเบียนสิทธิเก็บกินก็ควรจะยกเลิกกฎหมายฉบับ นี้เสียเลย ดิฉันยังยืนยันว่าการทำตามกฎหมายเพื่อลดภาษีเป็นสิทธิของราษฎรที่จะทำได้โดยชอบธรรม การจดสิทธิเก็บกินเสียค่าธรรมเนียมประมาณ 100 บาทเท่านั้น ประชาชนคนไทยสามารถ จดได้มาเกือบ 100 ปีแล้ว ดังนั้น บรรพบุรุษของเราก็เป็นผู้ที่จดสิทธิเก็บกินมาตั้งแต่สมัยโบราณ

7.6 เมื่อลูกเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินแล้ว สัญญาเช่าและสัญญาบริการต่าง ๆ ตามที่ดิฉันกล่าวไว้ข้างต้น ต้องทำให้ชื่อของลูกในฐานะผู้ให้เช่า และในฐานะ ผู้ให้บริการ หากลูกยังไม่บรรลุนิติภาวะ คุณ สามารถดำเนินการแทนลูก คือ ลงนามแทนลูก ให้บริการแทนลูกก็ได้ แต่สัญญาต้องระบุว่าลูกเป็นผู้ให้เช่า และให้บริการ ข้อนี้ต้องพึงระวัง เพราะถ้าคุณจดสิทธิเก็บกินให้ลูก แต่ยังทำสัญญาในชื่อ ของตัวคุณเองเป็นผู้ให้เช่า การวางแผนภาษีย่อมไม่สมบูรณ์ คุณเสียเวลาเปล่า ๆ บางทีทำให้เสีย ภาษีผิด ๆ โดยปรับจำนวนมากมาย

7.7 ดิฉันเข้าใจว่าสมัยนี้เด็กที่เกิดใหม่ กระทรวงมหาดไทยจะมีเลขประจำตัวให้ ซึ่งเลขนี้จะสามารถ ใช้เสียภาษีได้ เพราะถือเป็นเลขบัตรประจำตัว แต่ถ้าหากว่าเด็กยังไม่มีเลขหรือบัตรประจำตัวที่จะ มาใช้ในการกรอกแบบเสียภาษีคุณก็สามารถยื่นขอเลขประจำตัวให้แก่เด็กได้ในลักษณะคล้ายกับ การยื่น ขอเลขประจำตัวของคณะบุคคล

7.8 สิทธิเก็บกินสามารถจดให้แก่วงศาคณาญาติที่ใกล้ชิดกับคุณได้ ไม่จำเป็นจะต้องให้แก่ลูกแต่ เพียงผู้เดียว เพราะบางคนอาจเป็นโสด ไม่มีลูก มีแต่พ่อแม่พี่น้องหรือญาติสนิทอื่น ๆ ข้อพึงระวังมีแต่เพียงว่า เมื่อจดไปแล้วคุณแก้ไขไม่ได้หากผู้ทรงสิทธิเก็บกินไม่ยินยอม ด้วยเหตุนี้ดิฉันจึงแนะว่าให้กำ หนด ระยะเวลา เพราะต่อไปในภายภาคหน้าจิตใจของคนอาจจะเปลี่ยนไป คุณจะได้มีความ คล่องตัวในการปรับเปลี่ยนการวางแผนภาษี

8. ทางราชการไม่ว่าจะเป็นเทศบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เรียกเก็บภาษีโรงเรือนหรือแม้แต่กรมสรรพากรที่เรียกเก็บภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มมักจะพยายามเก็บในจำนวนสูงสุด
บางครั้งอาจจะเกินกว่าความเป็นจริงด้วยซ้ำไป เช่น จะถือว่าห้องเช่าท่านมีคนพักเต็มตลอดทั้งปี ดังนั้นท่านต้องพยายามศึกษาข้อกฎหมายพร้อมทั้งข้อเท็จจริง และโต้แย้งโดยใช้เหตุผลที่เป็นจริง เป็นจัง โปรดระลึกว่า ราชการเก็บภาษีได้เฉพาะตามกฎหมายและตามข้อเท็จจริงเท่านั้น ดังนั้น หากห้องเช่าของท่าน ไม่มีคนพักเต็มตลอดเวลา โดยท่านสามารถแสดงได้จากสัญญาเช่าที่ผู้เช่าลง นามไว้หรือทะเบียนผู้เช่าพัก ท่านย่อมมีเหตุผลที่จะโต้แย้งและเสียภาษีตามราย ได้ที่ท่านได้รับจริง เท่านั้น โดยท่านไม่ต้องเสียเปรียบยอมรับการประเมินภาษีที่ไม่ถูกต้อง

9. ถ้าจำเป็นจะต้องโต้แย้งการประเมินภาษีแล้ว ท่านสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์การเรียกเก็บภาษีที่ไม่ ถูกต้องได้ และแม้ผลอุทธรณ์ออกมาจะเป็นไปใน แนวที่ท่านไม่ยอมรับ ท่านยังสามารถนำคดีขึ้นสู่ ศาลภาษีได้ด้วย โดยมีข้อระลึก 2 ข้อดังนี้

( 1) ในด้านภาษีโรงเรือนหากท่านจะอุทธณ์หรือนำคดีขึ้นสู่ศาล ท่านต้องชำระภาษีให้ครบเสียก่อน ไม่อย่างนั้นท่านจะถูกตัดสิทธิไม่ให้ฟ้องร้องต่อศาล

(2) การอุทธรณ์มีกำหนดระยะเวลาสั้นมาก ปกติภายใน 15-30 วัน ดังนั้น หากท่านคิดว่าจะใช้ สิทธิอุทธณ์โต้แย้งก็ควรเตรียมข้อเท็จจริง เอกสาร และคดีให้พร้อม เพราะมิฉะนั้นหากเลยกำหนด ของกฎหมาย ท่านจะถูกปิดปากไม่ให้นำคดีขึ้นอุทธรณ์หรือขอความยุติธรรมต่อศาลได้

 
IP Logged
แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 03-05-2011 00:16:17 โดย สุณิษาเรืองหิรัญ ด้วยเหตุผล
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ปรึกษาเรื่องการเสียภาษีอพาร์ทเมนต์.. 27-04-2011 16:00:17 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ปรึกษาเรื่องการเสียภาษีอพาร์ทเมนต์

เดี๋ยวทางเราจะรีบหาคำตอบและแนวทางให้นะครับ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ปีใหม่นีบริษัทหยุดวันใหนบ้างค่ะ.. 27-04-2011 15:52:07 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาทั่วไป
กระทู้ : ปีใหม่นีบริษัทหยุดวันใหนบ้างค่ะ

แต่สามารถโทรเข้ามาได้ทุกวันค่ะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ปรึกษาเรื่องการเสียภาษีอพาร์ทเมนต์.. 24-04-2011 15:00:25 
อั๋น

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ปรึกษาเรื่องการเสียภาษีอพาร์ทเมนต์

กำลังจะเริ่มทำอพาร์ทเมนต์ ขอปรึกษาการวางแนการเสียภาษีอย่างไรให้น้อยที่สุด

มีรายละเอียดดังนั้ครับ

มี2 อาคาร อาคารละ30 ห้อง

จำนวนห้อง 60 ห้อง

ค่าเช่า 3500 บาท

ชื่อที่ดินของมารดา

ผู้ขออณุญาติก่อสร้าง มารดา

ผู้กู้ บิดา+มาดา+ผม 

วงเงินกู้ 12ล้านบาท ดอกเบี้ย7%ต่อปี

อยู่ในช่วงการก่อสร้างได้30%

รบกวนช่วยให้คำปรึกษาด้วยครับ

ยินดีให้คิดค่าบริการในการปรึกษาครับ

เบอร์โทร 0862213989

email apirat_thongkan@hotmail.com

IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาค่ะ.. 17-04-2011 09:27:31 
ลงทะเบียนเมื่อ: 28-03-2024 21:06:36
ตอบ: 0
ที่อยู่
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาทั่วไป
กระทู้ : โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาค่ะ

จากประสบการณ์อยู่สำนักงานบัญชีมาหลายปี ลูกค้าหลายจะมีปัญหาเรื่อง การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตลอดเลย

ขอแนะนำเวปที่สามารถคำนวณภาษีได้ เพื่อช่วยในเรื่องการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานะค่ะ ลิ้งค์เวปได้เลยค่ะ

 

http://rdsrv2.rd.go.th/landwht/landwht06.asp

 


   การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่น ที่มิใช่มรดก หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับมาจากการให้โดยเสน่หา
 

   การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จากการขายอสังหาริมทรัพย์ อันเป็นมรดก หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับมาจากการให้โดยเสน่หา
 

   การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย จากการขายอสังหาริมทรัพย์
   การคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายอสังหาริมทรัพย์
   การคำนวณอากรแสตมป์
 
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :การจ่ายเงินปันผล.. 13-04-2011 15:45:36 
ลงทะเบียนเมื่อ: 28-03-2024 21:06:36
ตอบ: 0
ที่อยู่
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : การจ่ายเงินปันผล

เงื่อนไขในการจ่ายเงินปันผล
1. เงินปันผลต้องจ่ายจากเงินกำไรแท้ๆ เท่านั้น ( เป็นกำไรทางบัญชีนะค่ะ) ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผลจากเงินประเภทอื่นนอกจากเงินกำไร ถ้าหากบริษัทขาดทุน ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผลจนกว่าจะได้แก้ไขให้หายขาดทุน
เงินกำไรนั้น หมายถึงเงินที่ได้จากการค้าขายของบริษัทหักต้นทุนและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ไว้แล้ว เงินกำไรจะได้มาจากปีก่อนๆ หรือในปีที่มีการประกาศจ่ายเงินปันผลก็เรียกว่าเงินกำไร
มาดูตัวอย่างกันนะค่ะ
ตย. บริษัท X ทำการค้ามา 3 ปีแรก ขาดทุนไป 60,000 บาท สิ้นปีที่ 4 บริษัทได้กำไร 10,000 บาท บริษัทจะเอากำไรจำนวน 10,000 มาแบ่งเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นไม่ได้ ต้องนำไปชดใช้การขาดทุนใน 3 ปีแรกก่อนก็ยังขาดทุนอยู่อีก 60,000 - 10,000 = 50,000 บาทดังนั้นในปีที่ 4 บริษัทจีงแบ่งเงินปันผลไม่ได้ พอสิ้นปีที่ 5 บริษัทมีกำไร 65,000 บาท ก็ต้องนำเอากำไรไปชดใช้การขาดทุนในปีก่อนๆ ที่ยังขาดทุนอยู่ ยังเหลือกำไร 65,000 - 50,000 = 15,000 บาท ก็สามารถนำเอากำไร 15,000 บาทมาจ่ายเป็นเงินปันผลได้ เพราะการขาดทุนได้หมดสิ้นไปแล้ว
2.
เงินปันผลตามปกติจะจ่ายให้ผู้ถือหุ้นได้ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่เท่านั้น คือ แม้บริษัทจะมีกำไรในปีนั้นมากมายเท่าใดก็ตาม ถ้าที่ประชุมใหญ่ไม่มีมติจะจ่ายเงินปันผลแล้ว ผู้ถือหุ้นจะไปบังคับบริษัทให้จ่ายเงินปันผลให้ตนไม่ได้ ( บางกรณี การจ่ายเงินปันผลอาจจะไม่ได้มติจากที่ประชุมใหญ่ก็ได้ แต่เป็นเพียงมติของกรรมการบริษัทที่เรียกว่า " เงินปันผลระหว่างกาล " )
3.
ทุกคราวที่แจกเงินปันผล ไม่ว่าจะเป็นการแจกเงินปันผลตามปกติ หรือเงินปันผลระหว่างกาล บริษัทต้องจัดสรรเงินไว้เป็นทุนสำรองอย่างน้อยหนึ่งในยี่สินส่วนของจำนวนผลกำไรซึ่งบริษัททำมาหาได้จากกิจการของบริษัท จนกว่าทุนสำรองนั้นจะมีจำนวนถึงหนึ่งในสิบของจำนวนทุนบริษัทหรือมากกว่านั้น แล้วแต่จะได้ตกลงกำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท มาค่ะมาดูตัวอย่างกัน
            ตย. บริษัทแห่งหนึ่งมีทุน 1,000,000 บาท ถ้าปีที่ 1 บริษัทมีกำไร 50,000 บาท บริษัทต้องชักกำไรไว้ร้อยละ 5 คือเป็นจำนวน 2,500 บาท เป็นทุนสำรองถึงปีที่ 2 - 10 แต่ละปีถ้าบริษัทมีกำไร บริษัทต้องหักกำไรไว้เป็นทุนสำรองทุกครั้ง สมมติว่าสิ้นปีที่ 10 ทุนสำรองของบริษัทมีถึง 100,000 บาท ก็เท่ากับ 1 ใน 10 ของทุนบริษัทแล้วถึงปีที่ 11 ถ้าบริษัทมีกำไรอีกบริษัทก็จะเอากำไรมาแจกเป็นเงินปันผลได้เลย ไม่ต้องหักเป็นทุนสำรองอีกแล้ว
มาดูอีกตย.หนึ่ง
          ตย. ในปี 2548 บริษัทมีกำไร 14 ล้านบาท มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ผลประกอบการในอดีตที่ผ่านมามีผลประกอบการเป็นขาดทุนสุทธิ จำนวน 13 ล้านบาท และบริษัทฯ ยังไม่เคยมีการตั้งเงินสำรองตามกฏหมายเลย
ก. บริษัทฯ ไม่อาจจะจ่ายเงินปันผลได้ หากยังเป็นขาดทุนอยู่ แต่ตาม ตย. บริษัท ขาดทุน 13 ล้าน และในปี 48 มีกำไร 14 ล้าน ดังนั้น บริษัทสามารถนำเงินเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้นที่จ่ายเงินปันผลได้ค่ะ แต่
ข. จะต้องมีการกันเงินสำรองตามกฏหมายให้ได้หนึ่งในสิบของทุนก่อนถึงจะจ่ายเงินปันผลได้ ดังนั้นในปี 48 บริษัทจึงต้องกันเงินสำรองให้ได้หนึ่งในสิบ = ทุน 1 ล้าน * 10 / 100 เท่ากับจำนวน 100,000 บาทของกำไรที่เหลือคือ 1 ล้านมาเป็นเงินสำรอง จะไม่ได้คำนวณจากผลกำไรทั้งจำนวน 14 ล้านบาทนะครับ เนื่องจากต้องหักผลขาดทุนจำนวน 13 ล้านออกไปก่อนจึงเหลือกำไรเพียง 1 ล้านบาทแล้วจึงค่อยนำกำไรสุทธิที่เหลือมาตั้งเป็นเงินสำรองตามกฏหมายค่ะ
-
จะเห็นได้ว่าการกันสำรองนั้น กฏหมายเพียงกำหนดไว้ว่าถ้าจะกันต้องกันไม่น้อยกว่า หนึ่งในยี่สิบส่วนของผลกำไร แต่มากกว่าได้
-
และไม่ได้กำหนดว่าจะต้องตั้งกี่ปี แต่ต้องตั้งให้ครบหนึ่งในสิบของจำนวนทุนบริษัทหรือมากกว่านั้น แล้วแต่จะได้ตกลงกำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท ดังนั้นจึงตั้งเงินสำรองปีเดียวให้ครบเลยก็ได้ค่ะ
ค. ดังนั้นในปี 48 เมื่อผลประกอบการหลังหักขาดทุนเป็นกำไรแล้ว และได้มีการกันเงินสำรองครบตามกฏหมายกำหนดกล่าวคือ 1/10 ของทุนแล้ว จึงจะประกาศจ่ายเงินปันผลในปี 49 ได้
4.
การบอกกล่าวการแจกเงินปันผล ต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้คือ
4.1
โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ฉบับหนึ่ง 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย หรือ
4.2
มีจดหมายบอกกล่าวไปยังผู้ถือหุ้นทุก ๆ คนซึ่งมีชื่อในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท

คำถามเกี่ยวกับเรื่องเงินปันผล
1.
ถามว่า เงินกำไรที่นำมาจ่ายเป็นเงินปันผลนั้น จะต้องคำนวณมาจากกำไรก่อนหรือหลังภาษีค่ะ
ตอบ การจ่ายเงินปันผลจะต้องจ่ายจากกำไรหลังหักภาษีค่ะ
2.
ถามว่า ชำระค่าหุ้นไม่ครบ จ่ายเงินปันผลได้หรือไม่ เช่น บริษัทมีทุนจดทะเบียน 500,000 บาท เรียกชำระ 250,000 บาท มีกำไรสะสม ประมาณ 2 ล้านบาท จะจ่ายเงินปันได้หรือไม่
ตอบ เรื่องนี้มีหลักเกณฑ์กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1200 ที่ว่า
"
การแจกเงินปันผลนั้น ต้องคิดตามส่วนจำนวนซึ่งผู้ถือหุ้นได้ส่งเงินแล้วในหุ้นหนึ่ง เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในเรื่องหุ้นบุริมสิทธิ "
คือ การจ่ายเงินปันผลนั้น กฎหมายไม่คำนึงถึงมูลค่าหุ้น แต่คำนึงถึงจำนวนเงินที่ส่งแล้วในหุ้นหนึ่ง
มาดูตัวอย่างกันค่ะ : บริษัทแห่งหนึ่งกำหนดมูลค่าหุ้นไว้หุ้นละ 100 บาท บริษัทเรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นไปแล้ว 100% เต็มดังนี้ ผู้ถือหุ้นที่ชำระค่าหุ้นไปแล้ว 100% จะได้รับเงินปันผลมากกว่าผู้ที่ชำระไปแล้ว 75% ส่วนผู้ที่ชำระไปแล้ว 75% ก็จะได้รับเงินปันผลมากกว่าผู้ที่ชำระไปแล้ว 50%
กรณีข้างต้นเป็นเรื่องเฉพาะหุ้นสามัญเท่านั้น ไม่ใช้บังคับกับหุ้นบุริมสิทธิ คือบริษัทอาจจะมีข้อบังคับกำหนดว่า ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเงินปันผลก่อนผู้ถือหุ้นสามัญเสมอ ไม่ว่าจะค้างชำระค่าหุ้นหรือไม่ก็เป็นไปตามข้อบังคับนั้น แม้บริษัทจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นทุกคนชำระค่าหุ้นไปแล้ว 100% ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิที่ชำระค่าหุ้นไปแล้วเพียง 50% ก็อาจได้รับเงินปันผลก่อนผู้ถือหุ้นสามัญที่ชำระค่าหุ้นไป 100% เต็มก็ได้
3.
ถามว่า ถ้า หจก. จะจ่ายเงินปันผลตอนสิ้นปี จะต้องทำอย่างไรบ้างและวิธีการบันทึกบัญชีบันทึกอย่างไร
ตอบ ก. สำหรับห้างหุ้นส่วนจำกัด จะไม่เรียกว่าจ่ายเงินปันผล แต่จะใช้คำว่า " การแบ่งกำไร " ซึ่งเรื่องนี้ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ได้มีบัญญัติไว้ ก็ต้องอนุโลมหลักเกณฑ์การแบ่งกำไรในห้างหุ้นส่วนสามัญตามมาตรา 1044 และ 1045 มาใช้ โดยอาศัยมาตรา 1080 วรรค 1 ที่ว่า

"
บทบัญญัติว่าด้วยห้างหุ้นส่วนสามัญขัอใดๆ หากมิได้ยกเว้นหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปโดยบทบัญญัติแห่งหมวด 3 นี้ ท่านให้นำมาใช้บังคับแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วย "
คือหมายความว่า หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดและหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด จะได้รับแบ่งกำไรเท่าไร ก็เป็นไปตามอัตราส่วนคือ ลงทุนมากก็จะได้กำไรมาก ลงทุนน้อยก็จะได้กำไรน้อยตามส่วน แต่ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้หุ้นส่วนแต่ละคนได้ส่วนกำไรเท่ากันหมดทุกคน หรือให้คนลงทุนน้อยได้กำไรมากกว่าคนลงทุนมาก ก็ต้องเป็นไปตามข้อตกลงนั้น
ข. เมื่อมีการตกลงจะแบ่งเป็นที่แน่นอน ก็จะบันทึกบัญชีในวันที่ที่มีการตกลงให้จ่าย โดย
Dr.
ส่วนแบ่งกำไรให้ผู้เป็นหุ้นส่วน ( แสดงหักในส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน )
Cr.
เงินสด / ธนาคาร / ส่วนแบ่งกำไรค้างจ่าย ( หนี้สิน )

4. ถามว่า เมื่อมีการจ่ายเงินปันผลแล้ว ทั้งทางด้านผู้จ่ายและผู้รับต้องดำเนินการอย่างไรในเรื่องภาษีอากร
ตอบ
-
ทางด้านผู้จ่าย จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ร้อยละ 10 สำหรับผู้ผู้รับซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้คำนวณหักในอันตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ตามมาตรา 50
http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html#mata50

และต้องไปนำส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่จ่ายเงิน ไม่ว่าตนจะได้หักภาษีไว้แล้วหรือไม่ตามมาตรา 52

-
ทางด้านผู้รับ เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไรถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 ( 4 ) ( ข ) กฎหมายให้สิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยวิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย แทนการนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นตามหลักทั่วไป ซึ่งจะทำให้ผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษี ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย สามารถประหยัดภาษีได้ ซึ่งจะต้องมีสิ่งที่ควรทราบอีกดังนี้

1.
ในกรณีที่บุตรชอบด้วยกฎหมายที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นผู้มีเงินได้ตาม (ข) นี้ และความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดา แต่ถ้าความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดาหรือมารดา ผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือของบิดาในกรณีบิดามารดา ใช้อำนาจปกครองร่วมกัน (เท่ากับบุตรไม่มีเงินได้) หลักนี้ ให้อนุโลมใช้กับบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย

2.
เงินได้ตาม (ข) ซึ่งได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจะได้รับเครดิตภาษี = อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล x เงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไรที่ได้รับ 100- อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

ทั้งนี้เฉพาะผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย หรือเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น อนึ่งเครดิตภาษีนี้จะนำมาใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปีภาษีเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย และในการคำนวณภาษีเงินได้ ต้องนำเครดิตภาษีเงินปันผลดังกล่าวมารวมคำนวณภาษีโดยถือ เป็นเงินได้ พึงประเมินด้วย

 

IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ภาษี หัก ณ ที่จ่าย.. 13-04-2011 12:26:14 
ลงทะเบียนเมื่อ: 28-03-2024 21:06:36
ตอบ: 0
ที่อยู่
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : ภาษี หัก ณ ที่จ่าย

การหักค่านายหน้าหักกี่เปอร์เซ็น นี่ก็เป็นคำถามหนึ่งที่นกได้ยินเจ้านายต้องตอบลูกค้าเสมอ

จึงรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับเรื่องภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย มาไว้ที่นี่ เพื่อมาเป็นความรู้ให้ทุกท่านที่เข้าชมเวปไซด์ของเรานะค่ะ  

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย   มีทั้งด้านที่ เราต้องเป็นผู้หัก และ ด้านที่เราเป็นผู้ถูกหัก (บุคคลธรรมดาไม่มีสิทธิ์ หัก ณ ที่จ่ายใคร นะค่ะ แต่บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน  สามารถ หัก ณ ที่จ่าย บุคคลได้ ค่ะ)

ถ้าเราเป็น บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด  เป็นผู้หัก ณ ที่จ่าย  ให้แยกแบบให้ออกก่อนว่าเป็นแบบ อะไร มีแค่ 2 แบบดังนี้

1.       หัก ณ ที่จ่าย นิ ติบุคคล  คือห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัท จำกัดฯ  เราต้อง ยื่นแบบ  ภงด.53

2.       หัก ณ ที่จ่าย แก่ บุคคลธรรมดา คือ หสม. ,ร้านค้า  นาย...  , นาง.... ,ทะเบียนพาณิชย์ (จัดเป็นบุคคลธรรมดาหมดนะค่ะ)   เราต้องยื่น   ภงด.3

ส่วนจะหัก ณ ที่จ่ายอัตรากี่เปอร์เซ็นต์นั้น ขึ้นอยู่กับว่าจ่ายค่าอะไร  (ทั้ง ภงด.53 และ ภงด.3  หัก เหมือนกันค่ะ)

1.     ค่านายหน้า

-                      ถ้าจ่ายบุคคลธรรมดา หัก 10-37% ตามอัตราก้าวหน้า

-                     ถ้าจ่ายนิติบุคคลหัก 3% ค่ะ

2.     ค่าเช่า   หัก 5%       (เช่าบ้าน  รถ เครื่องจักร ฯลฯ )

3.     ค่าจ้างทำของ  หัก 3%   (จ้างทำงานตามแบบที่เรากำหนด อย่างเช่น จ้างทำเครื่องจักร   จ้างเขียนเวปไซด์ จ้างทำบัญขี)

4.     ค่าบริการ หัก  3%   (ค่าบริการ ที่ผลงานที่ได้ ไม่ได้ออกมาเป็นรูปร่างหน้าตา เช่น  ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต)

5.     ค่าขนส่ง หัก 1%      อันนี้ชัดเจนค่ะ ว่า ค่าขนส่ง ไม่ต้องยกตัวอย่างนะค่ะ

6.     ค่าประกันภัย  หัก 1%    อันนี้ก็ชัดเจนเหมือนกัน  ไม่ต้องยกตัวอย่างนะค่ะ

7.     ค่าโฆษณา หัก 1%      อันนี้ก็ชัดเจนเหมือนกัน  ไม่ต้องยกตัวอย่างนะค่ะ

หลักๆ ที่จะเจอ จะมีแค่นี้ นะค่ะ เกี่ยวกับเรื่องหัก ณ ที่จ่าย  แต่นกเวลาจำ  ง่ายๆ เลยคือ ค่าใช้จ่ายใดๆ ก็ตามนอกจากการซื้อสินค้า  ซื้อของใช้  ต้องหัก ณ ที่จ่ายหมด แต่จะหัก กี่เปอร์เซ้นต์ ต้องมานั่งท่องจำอีกทีค่ะ

IP Logged
แก้ไขล่าสุดเมื่อ: 03-09-2011 23:41:19 โดย สุณิษาเรืองหิรัญ ด้วยเหตุผล
 หัวข้อกระทู้ :การเสียภาษีอพาร์ทเม้นท์ หรือ ห้องเช่า.. 13-04-2011 11:57:49 
ลงทะเบียนเมื่อ: 28-03-2024 21:06:36
ตอบ: 0
ที่อยู่
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาการบริการด้านภาษี
กระทู้ : การเสียภาษีอพาร์ทเม้นท์ หรือ ห้องเช่า

ได้ยินพี่ที่สำนักงานตอบเรื่องเกี่ยวกับอพาร์ทเม้นท์เดือนหนึ่งๆ หลายครั้ง ก็เลยคิดว่ามีอีกหลายคนที่ต้องการความรู้ด้านนี้  ก็เลยเลือก ข้อมูลดีๆ มาบอกกล่าวกันฟังนะค่ะ

การวางแผนภาษีของอพาร์ทเม้นท์หรือห้องเช่า

1.
ทำสัญญาแยกค่าเช่าออกจากค่าบริการ รวมทั้งชี้แจงเจ้าหน้าที่หากห้องเช่าของท่านไม่มีคนพักเต็มตลอดเวลา โดยท่านสามารถแสดงหลักฐานสัญญาเช่าที่ผู้เช่าลงนามไว้หรือทะเบียนผู้เช่าพัก ท่านย่อมมีเหตุผลที่จะโต้แย้งและเสียภาษีตามรายได้ที่ท่านได้รับจริงเท่านั้น และช่วยให้ฐานภาษีโรงเรือนลดลงได้ (ปัจจุบันต้องเสียภาษีโรงเรือน 12.5% ของค่าเช่าห้อง)
2.
ถ้าค่าเช่าเฟอร์นิเจอร์ ค่าบริการ ค่าน้ำ ค่าไฟ รวมเกินปีละ 1.8 ล้านบาท จะต้องเข้า VAT
3.
บุคคลธรรมดาควรทำบัญชี โดยเก็บหลักฐานพิสูจน์ผู้รับผู้จ่ายสำหรับต้นทุนก่อสร้างและค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้วนำมาหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงได้ แต่ถ้าท่านมีรายได้จากแหล่งอื่นด้วย อาจทำให้เสียภาษีในอัตราสูง ควรเปรียบเทียบกับการจัดตั้งบริษัทว่าอย่างใดจะคุ้มกว่ากัน
4.
จัดทำอพาร์ทเม้นท์ในชื่อห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน(หสม.)เพื่อกระจายรายได้ การเข้าร่วมจัดตั้งหสม.ทำได้หลายวิธีเช่นเจ้าของที่ดินกับผู้ก่อสร้าง,เข้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกับผู้ทำการตลาด จัดหาผู้เช่า ดูแลตึก รักษาความปลอดภัย เรียกเก็บค่าเช่า จ่ายค่าจ้างคนงาน เป็นต้น เมื่อเป็นดังนี้แล้วก็สามารถเก็บค่าเช่าในชื่อหสม.ได้โดยเสียภาษีจากอัตราต่ำสุด และไม่ต้องเอาค่าเช่าไปรวมกับรายได้อื่นของคุณ โดยต้องจัดทำสัญญาจัดตั้งคณะบุคคลเพื่อแบ่งแยกหน้าที่การงานและกำหนดส่วนแบ่งกำไรให้ชัดเจนแล้วนำไปขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของหสม.เพื่อจะได้เริ่มเสียภาษีให้ถูกต้อง
5.
การให้เช่าเหมาชั้น กรณีอาคารมีหลายชั้นและคุณก็ไม่ต้องการรับความเสี่ยงในการหาผู้เช่าให้ครบทุกห้องหรือความเสี่ยงในการเก็บเงิน คุณอาจให้เช่าเหมาชั้นแก่บุคคลทั่วไปโดยคิดค่าเช่าเป็นรายปี
6.
หากคุณมีลูกหลาน อาจจะกระจายรายได้ให้ลูกโดยจดทะเบียนสิทธิเก็บกิน คุณในฐานะพ่อหรือแม่ย่อมมีสิทธิทำการแทนลูกอยู่แล้ว คุณจึงสามารถจดทะเบียนสิทธิเก็บกินให้ลูกโดยคุณเป็นผู้ทำการแทน การจดทะเบียนสิทธิเก็บกินต้องทำที่กรมที่ดินหรือสำนักงานที่ดินท้องที่ซึ่งที่ดินและอาคารตั้งอยู่ โดยต้องนำโฉนดไปให้พนักงานเจ้าหน้าที่สลักหลังให้เรียบร้อยด้วยคุณอาจจะกำหนดระยะเวลาไว้ไม่เกิน 10 ปีเผื่อมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต(อาจให้สิทธิ์แก่ใครก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นลูก) เมื่อจดเรียบร้อยแล้วการทำสัญญาต่างๆก็ทำในนามคนนั้นเป็นผู้ให้เช่านะค่ะ

581c71bd2503bed7bed1c1722c

IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ยังจำได้ไหม.. 23-01-2011 11:38:28 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาทั่วไป
กระทู้ : ยังจำได้ไหม

รินหรอจ๊ะ ว่างๆมาเยี่ยมเพื่อนบ้างนะจ๊ะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ยังจำได้ไหม.. 21-01-2011 22:44:27 
rin

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาทั่วไป
กระทู้ : ยังจำได้ไหม

web site อลังการงานสร้างมากเลยน่ะเนี๊ยะ เถ้าแก่หย่าย 555

IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:แวะเข้ามาทักทายนะ เว็บไซต์ ดูมืออาชีพมาก.. 07-01-2011 17:21:31 
สุ

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาทั่วไป
กระทู้ : แวะเข้ามาทักทายนะ เว็บไซต์ ดูมืออาชีพมาก

 

ขอบคุณค่ะพี่ต้น

พี่ต้นมีอะไรสงสัยหรือแนะนำให้มีในเว็ปไซด์ก็แนะนำได้นะค่ะ เผื่อจะได้เป็นความรู้แก่คนทั่วไปได้

 

IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :แวะเข้ามาทักทายนะ เว็บไซต์ ดูมืออาชีพมาก.. 07-01-2011 11:11:19 
บริษัท เวิร์ลลิงค์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07-01-2011 11:06:49
ตอบ: 1
ที่อยู่
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาทั่วไป
กระทู้ : แวะเข้ามาทักทายนะ เว็บไซต์ ดูมืออาชีพมาก

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๔ ครับ Laughing

IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ตอบ:ปีใหม่นีบริษัทหยุดวันใหนบ้างค่ะ.. 12-12-2010 11:10:32 
บุคคลทั่วไป

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาทั่วไป
กระทู้ : ปีใหม่นีบริษัทหยุดวันใหนบ้างค่ะ

สวัสดีค่ะ สำนักงานเริ่มหยุดตั้งแต่งวันที่ 26 ธค.53 - 1 มค.54 นะค่ะ
IP Logged
 หัวข้อกระทู้ :ปีใหม่นีบริษัทหยุดวันใหนบ้างค่ะ.. 03-12-2010 09:43:21 
ลูกค้าค่ะ

บุคคลทั่วไป
กลุ่มการสนทนา : ปัญหาทั่วไป
กระทู้ : ปีใหม่นีบริษัทหยุดวันใหนบ้างค่ะ

อยากทราบว่าปีใหม่นี้บริษัทหยุดวันใหนบ้าง จะได้ติดต่อมาถูกค่ะKiss

IP Logged
หน้า #  << เริ่มแรก < ย้อนกลับ 11 12 13 14 15 16 17 ถัดไป > สุดท้าย >>


Powered by ccBoard


Joomla SEO powered by JoomSEF