" (1) สำหรับบุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิไม่เกิน
|
150,000 บาท
|
ยกเว้นภาษี
|
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน แต่ไม่เกิน
|
150,000 บาท 500,000 บาท
|
ร้อยละ 10
|
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน แต่ไม่เกิน
|
500,000 บาท 1,000,000 บาท
|
ร้อยละ 20
|
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน แต่ไม่เกิน
|
1,000,000 บาท 4,000,000 บาท
|
ร้อยละ 30
|
เงินได้สุทธิส่วนที่เกิน
|
4,000,000 บาท
|
ร้อยละ 37 "
|
(พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2534 ใช้บังคับสำหรับเงินได้ ปีภาษี 2535 เป็นต้นไป)
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551 ใช้บังคับสำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2551 เป็นต้นไป )
|
" (2) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
|
(ก) ภาษีจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
|
ร้อยละ 30 "
|
(พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2534 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค.2535 เป็นต้นไป) ( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 260) พ.ศ.2535 ) ( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 387) พ.ศ.2544 ) ( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 471) พ.ศ. 2551 ) ( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 473) พ.ศ. 2551 ) ( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 475) พ.ศ. 2551 ) ( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.62/2539 )
|
"(ข) ภาษีตามมาตรา 70 นอกจากที่ระบุใน (ค) (ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 377) พ.ศ.2544 )
|
ร้อยละ 15
|
(ค) ภาษีตามมาตรา 70 เฉพาะกรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข)
|
ร้อยละ 10
|
(ง) ภาษีตามมาตรา 70 ทวิ
|
ร้อยละ 10"
|
(พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2534 ใช้บังคับ 1 เม.ย. 2535 เป็นต้นไป) (ดูพระราชกฤษฏีกา (ฉบับที่ 270) พ.ศ.2537)
|
"(จ) ภาษีจากรายได้ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้อันมิใช่รายได้ตามมาตรา 65 ทวิ (13)
|
ร้อยละ 10"
|
(พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2534 ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ม.ค.2535 เป็นต้นไป) (ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 250) พ.ศ.2535)
|
ที่มา : กรมสรรพากร
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
ก. บริษัท จำกัด
ข. บริษัทมหาชน จำกัด
ค. ห้างหุ้นส่วน จำกัด
ง. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
ในกรณีที่บริษัทห้างห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยมีสาขาไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอก ประเทศไทย จะต้องนำกำไรสุทธิของสาขามารวมกำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลใน ประเทศไทย
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ได้แก่
(ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทำกิจการในที่อื่นๆ รวมทั้งในประเทศไทย ได้แก่
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศดังกล่าว จะต้องนำกำไรสุทธิเฉพาะ ที่ได้จากการกระทำกิจการในประเทศไทยมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
(ข) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย ให้ถือว่าบุคคลผู้จ้างเป็นลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อเช่นว่านั้นไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เป็นตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและให้บุคคลนั้นมีหน้าที่และ ความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรดังกล่าว
(3) กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
(4) กิจการร่วมค้า
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 2011 เวลา 23:22 น. |